วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ค้นพบดาวเคราะห์ใหม่ มีดวงอาทิตย์ 4 ดวง


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า คณะนักดาราศาสตร์ระหว่างประเทศค้นพบดาวเคราะห์ที่มีดวงอาทิตย์ถึง 4 ดวง นับเป็นครั้งแรกที่พบปรากฏการณ์ลักษณะนี้
ดาวเคราะห์ดวงนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า PH1 เพื่อเป็นเกียรติแก่โครงการอาสาหาดาวเคราะห์ดวงใหม่ ๆ นำโดยมหาวิทยาลัยเยลในสหรัฐ เป็นกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่ มีรัศมี 6.2 เท่าของโลก อยู่ห่างจากโลก 5,000 ปีแสง
ดาวเคราะห์PH1 โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2 ดวง และมีดวงอาทิตย์อีก 2 ดวงที่มีมวล 1.5 เท่า และ 0.41 เท่าของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ โคจรรอบดาวPH1อีกที ใช้เวลาโคจร 138 วัน ส่วนดวงอาทิตย์อีก 2 ดวงโคจรรอบดาวเคราะห์ดวงนี้ เป็นระยะห่าง 1,000 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ
ก่อนหน้านี้พบดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาว 2 ดวงเพียง 6 ดวง และไม่เคยมีดวงใดที่มีดาวอื่นโคจรรอบอีกที การค้นพบนี้ทำให้ต้องกลับไปศึกษาใหม่ว่าเหตุใดดาวเคราะห์หลายดวงจึงสามารถโคจรไปพร้อมกันเช่นนี้
ดาวเคราะห์มีดวงอาทิตย์ 4 ดวง

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ลมมรสุมในประเทศไทย


ลมมรสุมในประเทศไทย (Thai Monsoon)
          เนื่องจากแกนโลกเอียงทำมุม 23 1/2 องศา และโลกมีการหมุนรอบตัวเองระหว่างการโคจร รอบดวงอาทิตย์ ีกโลกทั้งสองจึงผลัดกันหันเข้าหาดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ สำหรับประเทศไทยซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร เป็นเขตร้อน อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม หรือลมประจำฤดู ซึ่งเป็นลมที่พัดเปลี่ยนทิศทางไปตามฤดูกาลเป็นช่วงระยะเวลาประมาณทุกครึ่งปีและมีทิศทางการพัดที่แน่นอน ลมมรสุมในประเทศไทย ได้แก่ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดผ่านประเทศไทยในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพื้นผิวโลกที่ประกอบไปด้วยพื้นดินและพื้นน้ำที่ในช่วงเดือนดังกล่าวเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงตรงกับพื้นมหาสมุทร ทำให้อากาศเหนือพื้นน้ำมีอุณหภูมิสูง อากาศจึงลอยตัวสูงขึ้น ขณะที่อากาศเย็นกว่าบริเวณทวีปเคลื่อนที่ออกไปแทนที่อากาศร้อนในมหาสมุทรที่ลอยตัวขึ้น จึงทำให้เกิดกระแสลมพัดผ่านจากภาคพื้นทวีปสู่มหาสมุทร เกิดเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือลมหนาวที่พัดพาความหนาวเย็นผ่านพื้นทวีปสู่มหาสมุทร ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมมรสุมฤดูร้อน เกิดในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม รวม ระยะเวลากว่า 5 เดือน ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่พื้นดินได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เต็มที่ทำให้พื้นดินได้รับความร้อนมากกว่าพื้นน้ำ อากาศบนพื้นดินจึงลอยตัวสูงขึ้น อากาศเย็นจากท้องมหาสมุทรจะเคลื่อนตัวนำพาความชุ่มชื้นและไอน้ำเข้ามาสู่ภาคพื้นดิน เกิดเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ) ช่วงเวลานี้มักมีฝนตกมากทั่วไป เป็นช่วงฤดูฝนในประเทศไทย





วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พายุ คืออะไร


พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว
มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ประเภทของพายุ

พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
  1. พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
  2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
    1. พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
    2. พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
    3. พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
    4. พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
    5. พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก
  3. พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กทม.เล็งสร้างอุโมงค์-ประตูระบายน้ำเพิ่ม




กรุงเทพมหานคร เตรียมสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ และประตูระบายน้ำในกรุงเทพฯ เพิ่มอีก 3 จุด เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ

          นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ ได้กล่าวถึงกรณีที่ทางกรุงเทพมหานคร จะมีการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่มขึ้นมาอีก 3 แห่ง ได้แก่ อุโมงค์ระบายน้ำคลองบางซื่อ ในขณะนี้ได้มีการประกวดราคาแล้ว รอเสนอให้รัฐบาลทราบ เพื่อเข้า ครม.ต่อไป 

          สำหรับอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอน ได้มีการเสนอแผนไปแล้ว และยังมีส่วนที่ต้องเพิ่มเนื้อหา นำเสนอให้รัฐบาลอีกเป็นบางส่วน ส่วนประตูระบายน้ำดอนเมือง ได้มีการออกแบบไปบ้างแล้ว แต่ยังมีอุปสรรคในเรื่องของการจัดสรรพื้นที่ในการก่อสร้าง เนื่องจากติดพื้นที่ที่เป็นเส้นทางการรถไฟ จึงจะต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือด้วย และในการออกแบบก่อสร้างลักษณะของอุโมงค์ ก็จะมีการออกแบบคล้ายกับอุโมงค์ที่พระราม 9