ภาษาที่ใช้ในระบบฐานข้อมูลจะใช้ภาษาเอสคิวแอลหรือ SQL ย่อมาจาก Structure Query Language (SQL) หรือเรียกว่า ซีเควล ภาษา SQL มักจะนำมาใช้กับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งเป็นภาษามาตรฐานมีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1. ภาษาสำหรับการนิยามข้อมูล (Data Definition Language: DDL)
2. ภาษาสำหรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language: DML)
3. ภาษาควบคุม (Control Language)
ภาษาสำหรับการนิยามข้อมูล ประกอบด้วย คำสั่งสำหรับสร้างโครงสร้างตารางและกำหนดชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูลที่จะเก็บ
ภาษาสำหรับการจัดการข้อมูล ประกอบด้วยคำสั่งสำหรับจัดการข้อมูล เช่น เพื่อแทรกข้อมูลเข้าสู่ตาราง เพื่อต้องการเรียกข้อมูลจากตารางมาแสดงผลที่จอภาพ หรือ เพื่อแก้ไข หรือลบข้อมูลที่ไม่ต้องการ
ภาษาควบคุม จะประกอบด้วยคำสั่งสำหรับการอนุญาตให้ผู้ใช้แต่ละคนหรือกลุ่มผู้ใช้กลุ่มใด ๆ มีสิทธิในการใช้คำสั่งใด ๆ ได้บ้าง รวมทั้งคำสั่งสำหรับสำรองข้อมูลไม่ให้เสียหายและคำสั่งในการกู้คืนข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลได้รับความเสียหายไปแล้ว
วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555
งามหน้า!! สื่อนอกตีข่าว ภูเก็ต เมืองอันตรายที่สุดในโลก
วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555
รูปแบบของฐานข้อมูล
1.ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (hierarchical data model)
คิดขึ้นโดยบริษัทไอบีเอ็ม เป็นฐานข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ โครงสร้างต้นไม้ (tree structure) เป็นโครงสร้างลักษณะคล้ายต้นไม้เป็นลำดับชั้น ซึ่งแตกออกเป็นกิ่งก้านสาขา
ผู้ที่คิดค้นฐานข้อมูลแบบนี้คือ North American Rockwell เพื่อต้องการให้เป็นฐานข้อมูลที่สมารถกำจัดความซ้ำซ้อน (Data Redundancy) โดยใช้แนวความคิดของโปรแกรมที่ชื่อว่า Generalized Update Access Method (GUAM)
โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น
ลักษณะโครงสร้างระบบฐานข้อมูลที่ใช้รูปแบบนี้จะมีโครงสร้างของข้อมูลเป็นลักษณะ
ความสัมพันธ์แบบพ่อลูก คือ พ่อ (parent) 1 คนมีลูก (child) ได้หลายคน แต่ลูกมีพ่อได้คนเดียว (นั่นคือเป็นความสัมพันธ์แบบ 1 ต่อ n) หรือแบบพ่อคนเดียวมีลูก 1 คน (นั่นคือเป็นความสัมพันธ์แบบ 1 ต่อ 1) ซึ่งจัดแยกออกเป็นลำดับชั้น โดยในระดับชั้นที่ 1 จะมีเพียงแฟ้มข้อมูลเดียวนั่นคือมีพ่อคนเดียว ในระดับที่ 2 จะมีกี่แฟ้มข้อมูลก็ได้ ในทำนองเดียวกันระดับ 2 ก็จะมีความสัมพันธ์กับระดับ 3 เหมือนกับ ระดับ 1 กับระดับ 2 โดยในโครงสร้างข้อมูลแบบลำดับชั้นแต่ละกรอบจะมีตัวชี้ (pointers) หรือ หัวลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัว จากตัวอย่างดังนี้
ภาพที่ 1.3 แสดงโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น
จากฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นจะมีปัญหาถ้าความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นแบบลูกมีพ่อได้หลายคน จะใช้โครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นไม่ได้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับงานที่ทำ งานชิ้นหนึ่งอาจทำโดยลูกจ้างหลายคนได้ โครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นจะไม่สามารถออกแบบลักษณะข้อมูลแบบนี้ได้ ปัญหาเช่นนี้ทำให้ไม่ค่อยมีผู้นิยมใช้ ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เนื่องจากความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูลเป็นแบบพ่อ-ลูกเท่านั้น
ลักษณะเด่น
- เป็นระบบฐานข้อมูลที่มีระบบโครงสร้างซับซ้อนน้อยที่สุด
- มีค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างฐานข้อมูลน้อย
- ลักษณะโครงสร้างเข้าใจง่าย
- เหมาะสำหรับงานที่ต้องการค้นหาข้อมูลแบบมีเงื่อนไขเป็นระดับและออกงานแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง
- ป้องกันระบบความลับของข้อมูลได้ดี เนื่องจากต้องอ่านแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดก่อน
ข้อจำกัด
- มีโอกาสเกิดความซ้ำซ้อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบฐานข้อมูลแบบโครงสร้างอื่น
- ขาดความสัมพันธ์ระหว่างแฟ้มข้อมูลในรูปเครือข่าย
- มีความคล่องตัวน้อยกว่าโครงสร้างแบบอื่น ๆ เพราะการเรียกใช้ข้อมูลต้องผ่านทางต้นกำเนิด (root) เสมอ ถ้าต้องการค้นหาข้อมูลซึ่งปรากฏในระดับล่าง ๆ แล้วจะต้องค้นหาทั้งแฟ้ม
2. โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบเครือข่าย
ลักษณะโครงสร้างระบบฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะมีโครงสร้างของข้อมูลแต่ละแฟ้มข้อมูลมีความสัมพันธ์คล้ายร่างแห โดยมีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับโครงสร้างแบบลำดับชั้น มีข้อแตกต่างที่ว่าโครงสร้างแบบเครือข่ายสามารถยินยอมให้ระดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะมีได้หลายแฟ้มข้อมูลถึงแม้ว่าระดับชั้นถัดลงมาจะมีเพียงแฟ้มข้อมูลเดียว เปรียบเสมือนมีความสัมพันธ์แบบลูกจ้างกับงานที่ทำ โดยงานชิ้นหนึ่งอาจทำโดยลูกจ้างหลายคน (m ต่อ n) ดังนี้
ภาพที่1.4 แสดงโตรงสร้างของฐานข้อมูลแบบเครือข่าย
แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อจะถูกเชื่อมโยงกับแฟ้มข้อมูลลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 1 แฟ้มข้อมูล ทำให้แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อเปรียบเสมือนงาน 1 ชิ้น จะถูกทำโดยลูกจ้าง มากกว่า 1 คน หรือในแฟ้มข้อมูลรหัสสินค้าจะมีแฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อและแฟ้มข้อมูลรายการสินค้าเป็นพ่อ ซึ่งการออกแบบลักษณะของฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะทำให้สะดวกในการค้นหามากกว่าลักษณะฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เพราะไม่ต้องไปเริ่มค้นหาตั้งแต่ข้อมูลต้นกำเนิดโดยทางเดียว ข้อมูลแต่ละกลุ่มจะเชื่อมโยงกันโดยตัวชี้ ลักษณะฐานข้อมูลนี้จะคล้ายกับลักษณะฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น จะมีข้อแตกต่างกันตรงที่ในลักษณะฐานข้อมูลแบบเครือข่ายนี้สามารถมีต้นกำเนิดของข้อมูลได้มากกว่า
ลักษณะเด่น
เหมาะสำหรับงานที่แฟ้มข้อมูลมีความสัมพันธ์แบบเครือข่าย
มีโอกาสเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลน้อยกว่าโครงสร้างแบบลำดับชั้น
การค้นหาข้อมูลมีเงื่อนไขได้มากและกว้างกว่าโครงสร้างแบบลำดับ
ข้อจำกัด
โครงสร้างแบบเครือข่ายเป็นโครงสร้างที่ง่ายไม่ซับซ้อน จึงทำให้ป้องกันความลับของข้อมูลได้ยาก
มีค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองพื้นที่ในหน่วยความจำเพราะจะเสียพื้นที่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำหรับตัวบ่งชี้มาก
ถ้าความสัมพันธ์ของระเบียนประเภทต่าง ๆ เกิน 3 ประเภท จะทำให้การออกแบบโครงสร้างแบบเครือข่ายยุ่งยากซับซ้อน
3. ระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
(Relational Database)
เป็นฐานข้อมูลที่ใช้โมเดลเชิงสัมพันธ์
(Relational Database Model) เนื่องด้วยแนวคิดของแบบจำลองแบบนี้มีลักษณะที่คนใช้กันทั่วกล่าวคือมีการเก็บเป็นตาราง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและการประยุกต์ใช้งาน ด้วยเหตุนี้
ระบบฐานข้อมูลแบบนี้จึงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในแง่ของ entity แบบจำลองแบบนี้คือ
แฟ้มข้อมูลในรูปตาราง และ attribute ก็เปรียบเหมือนเขตข้อมูล ส่วนความสัมพันธ์คือความสัมพันธ์ระหว่าง
entity ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ การเก็บข้อมูลในรูปของตาราง (table) ในแต่ละตารางแบ่งออกเป็นแถวๆ และในแต่ละแถวจะแบ่งเป็นคอลัมน์ (Column)
4. ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (The Object-Oriented Database Model)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แบบเครือข่าย และฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ล้วนจัดเก็บเฉพาะข้อมูล ไว้ในฐานข้อมูล ส่วนชุดคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินการกับฐานข้อมูลจะจัดเก็บไว้ในซอฟแวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลแยกต่างหาก แต่ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ จัดเก็บทั้งข้อมูลและชุดคำสั่งไว้ด้วยกัน จึงสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ ทำให้ฐานข้อมูลชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บและจัดการ แต่มีการนำมาใช้งานน้อยกว่าฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เนื่องจากมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่า
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แบบเครือข่าย และฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ล้วนจัดเก็บเฉพาะข้อมูล ไว้ในฐานข้อมูล ส่วนชุดคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินการกับฐานข้อมูลจะจัดเก็บไว้ในซอฟแวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลแยกต่างหาก แต่ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ จัดเก็บทั้งข้อมูลและชุดคำสั่งไว้ด้วยกัน จึงสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ ทำให้ฐานข้อมูลชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บและจัดการ แต่มีการนำมาใช้งานน้อยกว่าฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เนื่องจากมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่า
5.ฐานข้อมูลแบบวัตถุ-สัมพันธ์(Object-Relational Model)
เป็นแนวความคิดที่จะผสมผสานความสามารถ ความเร็ว และความเชื่อถือได้ของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ที่ใช้งานมายาวนาน เข้ากับฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object-Oriented) ที่สามารถจัดเก็บและบริหารข้อมูลที่ซับซ้อนได้ ซึ่งจะนำอินฟอร์มิกส์ยูนิเวอร์แซลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสนับสนุนแนวความคิดของฐานข้อมูลเชิงวัตถุสัมพันธ์มาใช้ในการจัดสร้างและพัฒนา ข้อดี ปรับแต่งให้รองรับผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก ปรับแต่งให้ทำงานกับแถวที่มีข้อมูลมาก ๆ ได้ดี ปรับปรุงตัวออปติไมเซอร์
วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ละติจูด (Latitude) ลองจิจูด (Longitude)
ละติจูด (Latitude) เป็นระยะทางเชิงมุมที่วัดไปตามขอบเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ โดยนับ 0 (ศูนย์) องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้ จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง หรือเป็นมุมแนวตั้งที่ศูนย์กลางโลกระหว่างเส้นรัศมีของโลกที่ผ่านจุดซึ่งเส้นเมริเดียนตัดเส้นศูนย์สูตรกับเส้นรัศมีที่ผ่านตำบลที่ตรวจ
ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียนกรีนิช
เส้นเมริเดียน และเมริเดียนกรีนิช มีความหมายว่า
เส้นเมริเดียน (meridian) คือ ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือ และขั้วใต้ของโลก ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลก ซึ่งเรียกว่าเหนือจริง ใต้จริง หรือเหนือภูมิศาสตร์ ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลกแต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น
เมริเดียนกรนิช (Greenwich meridian) คือเส้นเมริเดียนที่ผ่านหอดูดาว ณ ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน อังกฤษ ใช้เป็นศูนย์ในการกำหนดค่าต่อไปนี้ 1) พิกัดภูมิศาสตร์ เป็นจุดตั้งต้นของค่าลองจิจูด ซึ่งใช้ประกอบกับค่าละติจูดในการกำหนดตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยเมริเดียนกรีนิชนี้จะมีค่าลองจิจูด 0 (ศูนย์) องศา 2) เวลามาตรฐานสากล เวลาของท้องถิ่นที่อยู่ห่างจากเมริเดียนกรีนิชไปทางตะวันออก 1 องศา จะเร็วกว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที แต่ถ้าอยู่ห่างไปทางตะวันตก 1 องศา จะช้ากว่าเวลาที่กรีนิช 4 นาที
UTM Zone ในประเทศไทย
UTM Zone ในประเทศไทย
การแบ่ง Zone ในระบบ UTM
พื้นที่โลกจะถูกแบ่งออกเป็น 60 โซน ตามองศา Longitude ในแต่ละโซนจะมีระยะห่างโซนละ
6 องศาLatitude จะเท่ากับ 600,000 เมตร หรือ 600 กิโลเมตร โซน ที่ 1 จะอยู่ระหว่าง Longitude ที่ 180 องศาตะวันตก ถึง Longitude ที่ 174 องศาตะวันตก และมีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) คือเส้น Longitude ที่ 177 องศาตะวันตก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร ซึ่งค่า False easting นี้จะเท่ากันทุกโซน โซนที่ 2,3,4,5....,60 จะอยู่ถัดไปทางตะวันออก ห่างกันโซนละ 6 องศา Longitude ซึ่งโซนสุดท้ายคือโซนที่ 60 จะอยู่ระหว่าง Longitude ที่ 174 องศาตะวันออก ถึง Longitude ที่ 180 องศาตะวันออก
UTM Zone ในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในระหว่าง 2 โซน ได้แก่ Zone 47 และ Zone 48
- Zone 47 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 96 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 99 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทาง
ทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร
- Zone 48 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 108 องศาตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 105 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก(False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร
พื้นที่ Zone 47 และ Zone 48
จังหวัดที่อยู่ระหว่างโซน 47 และโซน 48
จังหวัดที่อยู่ระหว่างโซน 47 และโซน 48
1.จันทบุรี
2.ปราจีนบุรี
3.สระแก้ว
4.นครราชสีมา
5.ชัยภูมิ
6.ขอนแก่น
7.เลย
8.หนองบัวลำภู (บางส่วน)
9.นราธิวาส (บางส่วน)
วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ปรากฎการณ์ "ขี้ปลาวาฬ" กับภาวะโลกร้อน
สาหรายสีเขียวแกมน้ำเงินจัดอยู่ในโดเมนแบคทีเรีย ไฟลัม Cyanobacteria ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างอาหารเองได้ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่สำหรับบางเวลาและสถานที่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินถูกมองเป็นผู้ร้าย เมื่อพวกมันมีจำนวนมากขึ้นจนแหล่งน้ำกลายเป็นสีเขียว แดง หรือเหลือง หรือเรียกว่า “ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ” (Algal Bloom) ซึ่งเกิดจากธาตุอาหารในน้ำเพิ่มมากผิกปกติโดยเฉพาะฟอสฟอรัส
กองทัพสาหร่ายเหล่านี้ขยายปริมาณเพิ่มขึ้นมหาศาล และสูบออกซิเจนในน้ำไปใช้จนสัตว์น้ำทยอยตาย ซึ่งมีการศึกษาด้านความเชื่อมโยงระหว่าง ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬกับภาวะโลกร้อน พบว่าปรากฏการณ์นี้จะเกิดมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูง แต่สาเหตุที่ชัดเจนมากกว่า น่าจะเป็นการก่อมลพิษด้วยน้ำมือของมนุษย์ เพราะฟอสฟอรัสที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ที่เกิดจากปุ๋ยเคมี น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือน
วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ประโยชน์ของรีโมทเซนซิง
รีโมทเซนซิง ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศหลายด้าน ซึ่งเราสามารถประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น
การใช้ที่ดิน
การใช้ที่ดิน
· รีโมทเซนซิง สามารถใช้แปล รูปแบบการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ และนำผลลัพธ์ที่ได้มาจัดทำแผนที่การใช้ที่ดิน
· รีโมทเซนซิง นำมาใช้สนับสนุนติดตามและประเมินแนวโน้มการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร พื้นที่ป่าไม้ เป็นต้น
·
การเกษตร
· ภาพถ่ายจากดาวเทียมใช้สำรวจบริเวณพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
เช่น พื้นที่ปลูกข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สัปปะรด อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ
เช่น พื้นที่ปลูกข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สัปปะรด อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ
· ผลลัพธ์จากการแปลภาพใช้ประเมินการเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในแง่
ปริมาณ ราคา ช่วงเวลา ฯลฯ
ปริมาณ ราคา ช่วงเวลา ฯลฯ
· ติดตามขอบเขตและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าและเขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้
· ประเมินบริเวณพื้นที่ที่เหมาะสม
(มีศักยภาพ) ในการปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น
(มีศักยภาพ) ในการปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น
ป่าไม้
· ติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้จากการแปลภาพถ่ายจากดาวเทียม เช่น ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน เป็นต้น
· ผลลัพธ์จากการแปลสภาพพื้นที่ป่า เพื่อสำรวจพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรม
· นอกจากนี้ยังใช้สำหรับ ติดตามพื้นที่ไฟป่า
และความเสียหายจากไฟป่า
และความเสียหายจากไฟป่า
· ประเมินพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกป่าทดแทนบริเวณที่ถูกบุกรุก หรือโดนไฟป่า
ธรณีวิทยา
· การใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมแปลสภาพพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและโครงสร้างทางธรณี
ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการสำรวจ และนำมาสนับสนุนในการพัฒนาประเทศ เช่น เพื่อการประเมินหาแหล่งแร่
แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น
ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการสำรวจ และนำมาสนับสนุนในการพัฒนาประเทศ เช่น เพื่อการประเมินหาแหล่งแร่
แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น
การวางผังเมือง
· ใช้รีโมทเซนซิง ภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูง เพื่อใช้ติดตามการขยายตัวของเมือง
· ภาพถ่ายจากดาวเทียมช่วยให้ติดตาม การเปลี่ยนแปลงลักษณะ/รูปแบบ/ประเภทการใช้ที่ดิน
· ใช้ภาพถ่ายรายละเอียดสูง ติดตามระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบคมนาคมขนส่งทางบก ทางน้ำ BTS ไฟฟ้า
เป็นต้น
เป็นต้น
· ผลลัพธ์จากการแปลภาพถ่ายจากดาวเทียมนำมาใช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์การพัฒนาสาธารณูปการ
เช่น การจัดสร้าง/ปรับปรุง สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ดับเพลิง ไปรษณีย์
ห้องสมุด สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ เป็นต้น
เช่น การจัดสร้าง/ปรับปรุง สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ดับเพลิง ไปรษณีย์
ห้องสมุด สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ เป็นต้น
สิ่งแวดล้อม
· รีโมทเซนซิง ได้ใช้แปลสภาพทรัพยากรชายฝั่งที่เปลี่ยนแปลง เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิเคราะห์การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
เช่น การพังทลายของดินชายฝั่ง การทำลายป่าชายเลน การทำนากุ้ง การอนุรักษ์ปะการัง
เป็นต้น
เช่น การพังทลายของดินชายฝั่ง การทำลายป่าชายเลน การทำนากุ้ง การอนุรักษ์ปะการัง
เป็นต้น
· ภาพถ่ายจากดาวเทียมในช่วงคลื่น visible ช่วยในการ ศึกษา/ติดตาม/ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำ
· ผลลัพธ์จากการแปลภาพนำมาประกอบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการวิเคราะห์ความรุนแรงของปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางด้านน้ำ อากาศ เสียง ขยะ และสารพิษ· รีโมทเซนซิงจึงช่วยสนับสนุนการวางแผนพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555
GIS A Computerized database management system for capture storage retrieval analysis and display of spatial ( locationally defined ) data " ( NCGIA : National Center Geographic Information and Analysis, 1989 )
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ฐานข้อมูลการจัดการระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการจับการดึงการวิเคราะห์การจัดเก็บและแสดงผลของข้อมูล (ตามที่กำหนด locationally) พื้นที่"(NCGIA : ข้อมูลทางภูมิศาสตร์แห่งชาติศูนย์และการวิเคราะห์, 1989)
ลักษณะข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ฐานข้อมูลการจัดการระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการจับการดึงการวิเคราะห์การจัดเก็บและแสดงผลของข้อมูล (ตามที่กำหนด locationally) พื้นที่"(NCGIA : ข้อมูลทางภูมิศาสตร์แห่งชาติศูนย์และการวิเคราะห์, 1989)
ลักษณะข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Gcographic Features)
ปรากฏการณ์ หรือวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
- สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
- สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
แสดงลงบนแผนที่ ด้วย
- จุด (Point)=จุดแสดงรูปลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เล็กจนไม่สามารถแสดงบนเส้น
และพื้นที่ได้
- เส้น (line)=จุดแสดงรูปลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เล็กจนไม่สามารถแสดงบนพื้นที่ได้
- พื้นที่ (Area หรือ Polygon)= แสดงรูปร่างและตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
- ตัวอักษร (Text)
อธิบายลักษณะสิ่งที่ปรากฏ ด้วย
- สี (Color)
- สัญลักษณ์ (Symbol)
- ข้อความบรรยาย (Annotation)
- ที่ตั้ง (Location)
credit: ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย.
Map and Gis
สำหรับประเทศไทยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS ถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่และให้ความสนใจกันมากในปัจจุบัน แต่ความเป็นจริงได้มีการศึกษาวิจัยในรูปของ GIS มาหลายปีแล้ว เพียงแต่ไม่ได้เรียกว่า GIS เช่น การศึกษาการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน (Land-Use) ลักษณะพืชพรรณ (Vegetation Type) ความสูง (Elevation) ความลาดชัน (Slope) ทิศด้านลาด (Aspect) ธรณีวิทยา (Geology) และดิน (soil) ของพื้นที่ลุ่มน้ำที่ศึกษา ข้อมูลเหล่านี้จะจัดอยู่ในรูปของแผนที่ซึ่งจัดว่าเป็นระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์หรือ GIS อันหนึ่ง ดังนั้น GIS จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับแผนที่นั่นเอง และก่อนที่จะใช้ GIS กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำ Map Processing กล่าวคือแผนที่นั้นเอง เวลาที่มองบนกระดาษก็เห็นเป็นเส้นเป็นแนว เป็นตัวอักษรแสดงชื่อสถานที่และเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงลักษณะต่างๆ ของภูมิศาสตร์ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่าข้อมูลบนแผนที่นั้นคือ Location Index อย่างเช่น ลองจิจูด และละติจูด นั่นเอง ดังนั้นการทำ Map Processing ก็คือการเปลี่ยนระบบพิกัดแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งนั้นเอง รวมทั้งการย่อขยายหรือเปลี่ยนมาตราส่วนของแผนที่ด้วย ต่อมาภายหลัง ค.ศ. 1960 จึงได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการ ทำ GIS ในเรื่องเกี่ยวกับแผนที่นั้นมี 2 อย่าง คือ
1) การสร้างแผนที่
2) การเรียกค้นหาข้อมูลที่อยู่ในแผนที่
การสร้างแผนที่นั้นทำได้ง่ายเพราะมีวิธีการต่างๆ มากมายแต่การเรียกค้นแผนที่ไม่ใช่ง่าย และส่วนใหญ่ยังต้องทำด้วยมือ แต่เรื่องที่ยุ่งยากที่สุดสำหรับงานแผนที่ และ GIS ก็คือ ปริมาณข้อมูลที่มีมากเกินไป เพราะข้อมูลแสดงตำแหน่งในแผนที่ซึ่งเรียกว่า Spatial Data ที่ใช้นั้นมีมาก ตัวอย่างเช่น สองปีที่ผ่านมามีคนคิดทำโครงการเสนอรัฐบาลสหรัฐว่า จะจัดทำระบบ GIS เก็บข้อมูลภูมิศาสตร์ของโลก โดยตีเป็นตารางห่างกันสิบเมตร และเก็บรายละเอียดตรงจุดตัดของเส้นบนตารางไว้ในคอมพิวเตอร์พบว่าต้องใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลขนาดเท่ากับเนื้อที่เท่ากรุงเทพฯ ทั้งเมือง จึงจะเก็บข้อมูลได้หมด จากที่กล่าวมาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ในที่สุด
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่
1. Spatial Distribution หมายถึง การกระจายเชิงพื้นที่ การที่พื้นที่เกิดการกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างๆ เช่น การกระจายตัวของสัตว์ป่า การกระจายตัวของชุมชน
2. Spatial Differentiation หมายถึง ความแตกต่างในเชิงพื้นที่ ในพื้นที่แต่ละพื้นที่จะมีลักษณะเฉพาะทางกายภาพและชีวภาพต่างกันและพื้นที่ นั้นยังมีทรัพยากรที่มีความหลากหลายต่างกันตามลักษณะของพื้นทีเช่น ความแตกต่างทางด้านภูมิประเทศ บริเวณที่เป็นพื้นที่ราบและ บริเวณภูเขา
3. Spatial Diffusion หมายถึง การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่ เช่น การแพร่กระจายของเชื้อโรค จากที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ที่อยู่ห่างออกไป โดยอาจอาศัยคนเป็นตัวพาหะในการแพร่กระจาย
4. Spatial Interaction หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ เป็นการกระทำร่วมกันของสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องหรือกระทำร่วมกัน เช่น บริเวณที่มีป่าใหญ่ก็จะมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เยอะ
5. Spatial Temporal หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลาในเชิงพื้นที่ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศในช่วงวันที่ 1-10 มิถุนายน
วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555
5 อันดับ ตึกที่ประหลาดที่สุดในโลก
อันดับ 5 Regatta hotel, Jakata
อันดับ 4 Cctvheadquarters, China –
3: Chicago spire, USA –
2: Residence Antilia, India –
อันดับ 1 หนึ่ง… Aqua, USA –
อันดับ 4 Cctvheadquarters, China –
3: Chicago spire, USA –
2: Residence Antilia, India –
อันดับ 1 หนึ่ง… Aqua, USA –
วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เปิดโผ 20 อันดับเมืองที่ค่าครองชีพสูงสุดในโลก
เปิดโผ 20 อันดับเมืองที่ค่าครองชีพสูงสุดในโลก
1. ออสโล ประเทศนอร์เวย์
2. ซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
3. เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
4. โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
5. สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
6. โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
7. ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
8. เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
9. โตรอนโต ประเทศแคนาดา
10. สิงคโปร์
11. เวียนนา ประเทศออสเตรีย
12. ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
13. ลักเซมเบิร์ก ประเทศลักเซมเบิร์ก
14. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
15. ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
16. มิวนิค ประเทศเยอรมนี
17. มอนทรีอัล ประเทศแคนาดา
18. แฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี
19. เซาเปาโล ประเทศบราซิล
20. ดับลิน สาธารณรัฐไอร์แลนด์
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้รับการจัดอันดับอยู่ที่อันดับที่ 47 ในทั้งหมด 73 อันดับ ขณะที่เมืองที่มีค่าครองชีพต่ำที่สุดในโลก หรือถูกจัดให้อยู่ใน 5 อันดับสุดท้ายนั้น ได้แก่ ไคไร ประเทศอียิปต์, ไนโรบี ประเทศเคนยา, เดลี ประเทศอินเดีย, มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์, และ มุมไบ ประเทศอินเดีย ตามลำดับ
2. ซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
3. เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
4. โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
5. สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
6. โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
7. ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
8. เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
9. โตรอนโต ประเทศแคนาดา
10. สิงคโปร์
11. เวียนนา ประเทศออสเตรีย
12. ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
13. ลักเซมเบิร์ก ประเทศลักเซมเบิร์ก
14. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
15. ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
16. มิวนิค ประเทศเยอรมนี
17. มอนทรีอัล ประเทศแคนาดา
18. แฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี
19. เซาเปาโล ประเทศบราซิล
20. ดับลิน สาธารณรัฐไอร์แลนด์
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้รับการจัดอันดับอยู่ที่อันดับที่ 47 ในทั้งหมด 73 อันดับ ขณะที่เมืองที่มีค่าครองชีพต่ำที่สุดในโลก หรือถูกจัดให้อยู่ใน 5 อันดับสุดท้ายนั้น ได้แก่ ไคไร ประเทศอียิปต์, ไนโรบี ประเทศเคนยา, เดลี ประเทศอินเดีย, มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์, และ มุมไบ ประเทศอินเดีย ตามลำดับ
วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555
GIS ทำอะไรได้บ้าง
GIS เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) และข้อมูลอธิบายต่างๆ (attribute data ) | |||||||||||||||||||||||||||||||
ดังนั้น จึงมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ และตอบคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านพื้นที่ได้หลายประการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท
|
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS"
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เปิด 10 เมืองรถติดระดับโลก กทม. อันดับที่ 4
อันดับที่ 10 กรุงวอร์ซอ ,โปแลนด์
ติดเป็นอันดับที่ 2 ของทวีปยุโรปสำหรับเมืองนี้ และรั้งเข้ามาในอันดับที่ 10 ด้วยความที่เมืองนี้มีการสำรวจพบว่ามีรถอยู่ราวๆ 3.5 ล้านคัน และมีอาคารสำนักงานต่างๆมากมาย แถมไม่มีทางที่จะเลี่ยงเมืองนี้
แดนภารตะก็ใช่ย่อย เพราะเมืองหลวงที่นี่ติดเข้ามาในอันดับที่ 9 จากการสำรวจ เนื่องจากช่วง 50 ปีทีผ่านมา พบว่าเมืองนี้มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าจะลดลงโดยจากการสำรวจของ IBM พบว่า 30% ของผู้ใช้รถรู้สึกเครียด เพราะไม่มีเวลาให้กับครอบครัว และอีกกว่า 29% รู้สึกว่าการจราจรบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงาน
อันดับที่ 8 ปักกิ่ง,จีน
คนส่วนใหญ่ที่นี่ไม่ได้เป็นเหมือนยุคก่อนแล้ว เพราะ คนเริ่มทิ้งจักรยานหันมาขับรถมากขึ้น และทุกวันนี้ มีรถใหม่ออกมาเฉลี่ยวันละ 1900 คัน จนต้องมีการออกมาห้ามรถบางชนิดเข้าโซนรถติดในวันทำงาน แต่กระนั้น ชาวจีนในเมืองนี้ก็รู้สึกว่า การจราจรที่ติดขัดมีแนวโน้มดีขึ้นถึง 16%
อันดับที่ 7 ลอสแองเจิลเลส ,สหรัฐอเมริกา
ไม่น่าแปลกใจนักสำหรับเมืองนี เพราะ แค่เพียงการสำรวจภายในประเทศอเมริกาเอง ยังระบุว่าเมืองแห่งนี้ เป็นเมืองที่ คนใช้เวลาค้างบนถนนถึง 485 ล้านชั่วโมงเลยทีเดียว และยังไม่นับรวมร้านรวงต่างที่เยอะแยะมากมาย แม้จะน่าเที่ยวแต่นักท่องเที่ยวมักจนทนที่นี่ได้ไม่นาน
อันดับที่ 6 มอสโคว ,รัสเซีย
ค้างเติ่งวันละกว่า 2 ชั่วโมงครึ่งโดยเฉลี่ยคงไม่ใช่เรื่องสนุกนักกับการขับขี่ และจากการสำรวจมีการเผยว่า ชาวมอสโควเคยติดนานบนถนนกว่า 3 ชั่วโมงถึง 40% โดยสาเหตุหลักมาจากจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น จาก 60 คัน /1000 คน มาเป็น 350 คัน /1000 คน จากการสำรวจเมื่อเร็วๆนี้
ถ้าคุณคิดว่าไฟจราจรบั่นทอนอารมณ์ขับรถมากที่สุด แสดงว่าคุณคิดเหมือนคนที่นี่ เพราะ คนกว่า 43% เห็นพ้องเรื่องการปล่อยสัญญาณไฟที่นี่ห่วยแตก และมันทำให้กระดื้บได้ที่ละน้อยเท่านั้น แต่สิ่งที่เป็นปัญหาหนักข้อนั้น คือ ระบบรถไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสมในเมืองนี้ เช่นเดียวกับ จำนวนประชากรที่ทะยานสูงขึ้น จนคาดว่า ในอีก 4 ปี ข้างหน้าจะมีคนกว่า 14 ล้าน คน อยู่ที่นี่ จากเดิมที่มีเพียง 7 ล้านคนเท่านั้น
บ้านเราติดเกือบติดอันดับ 3 เช่นกัน ที่มีการเผยว่า เมืองหลวงเรานั้น มีการจราจรติดขัดมาก ด้วยส่วนหนึ่งการเป็นเจ้าของรถของคนต่างๆมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น ตามลำดับ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเวลาที่บ้านเราจะเริ่มรถติดคือ ตั้งแต่บ่าย 3 โมงเย็นเป็นต้นไป หรือว่าง่ายๆคือ เวลาเด็กเลิกเรียน แถมวันไหนฝนตก ก็จะกลายสภาพเป็นคลอง ทำให้การจราจรยิ่งแย่ลงไปอีก
อันดับที่ 3 บรัสเซล ,เบลเยี่ยม
ที่นี่คืออีกเมืองยุโรปที่ มีการจราจรคับคั่งที่สุดจนรถติด และคุณจะไม่แปลกใจเลย ถ้ารู้ว่า ทุกวัน คนกว่า 2 ล้านคน ต้องเดินทางมาที่นี่ ไม่นับคนที่อาศัยในเมืองนี้ 1 ล้าน คน แถม ยังไม่ค่อยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยในระยะทางกว่า 7 กิโลเมตร ที่สามารถปั่นจักรยานได้ใน 20 นาที หากเดินทางด้วยรถจะใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมงครึ่งเลยทีเดียว
อันดับที่ 2 นิวยอร์ค
มหานครสุดอลังการของโลกคือสถานที่จอดรถดีๆนี่เอง เพราะที่นี่รถติดด้วยสภาพถนนที่มีจุดบอดจากคอขวด แถมคนมาที่นี่ก็เยอะ ก็ไม่น่าแปลกใจ เช่นเดียวกับนอกเกาะแมนฮัตตันก็เลวร้ายพอๆกัน
อันดับที่ 1 เม็กซิโกซิตี้, เม็กซิโก
ติดที่สุดในโลกคงต้องที่นี่กับ นครเม็กซิโกซิตี้ ด้วยส่วนหนึ่งความคล้ายคลึงกับ LA และมันมีระบบถนนที่ซับซ้อน แถมการตั้งอยู่ในหุบเขา จึงมีปัญหามลพิษมากขึ้นด้วย โดยจากการสำรวจของ IBM พบว่า คนส่วนใหญ่ในการสำรวจกว่า 8,192 คน จาก 20 เมืองใหญ่ทั่วโลก ให้คะแนนเรื่องอุปสรรคในการเดินทาง ในนครแห่งนี้ถึง 99 จาก 100 คะแนน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)