วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

GIS A Computerized database management system for capture storage retrieval analysis and display of spatial  ( locationally defined ) data " ( NCGIA : National Center Geographic Information and Analysis, 1989 )
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ฐานข้อมูลการจัดการระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการจับการดึงการวิเคราะห์การจัดเก็บและแสดงผลของข้อมูล (ตามที่กำหนด locationally) พื้นที่"(NCGIA : ข้อมูลทางภูมิศาสตร์แห่งชาติศูนย์และการวิเคราะห์, 1989)

ลักษณะข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Gcographic Features)
  ปรากฏการณ์ หรือวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
    -  สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ 
          -   สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
  แสดงลงบนแผนที่ ด้วย 
    - จุด (Point)=จุดแสดงรูปลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เล็กจนไม่สามารถแสดงบนเส้น
      และพื้นที่ได้
    - เส้น (line)=จุดแสดงรูปลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เล็กจนไม่สามารถแสดงบนพื้นที่ได้
    - พื้นที่ (Area หรือ Polygon)= แสดงรูปร่างและตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
    - ตัวอักษร (Text)
  อธิบายลักษณะสิ่งที่ปรากฏ ด้วย
    - สี (Color)
    - สัญลักษณ์ (Symbol)   
    - ข้อความบรรยาย (Annotation)
    - ที่ตั้ง (Location)


credit: ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. 


Map and Gis
สำหรับประเทศไทยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS ถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่และให้ความสนใจกันมากในปัจจุบัน แต่ความเป็นจริงได้มีการศึกษาวิจัยในรูปของ GIS มาหลายปีแล้ว เพียงแต่ไม่ได้เรียกว่า GIS เช่น การศึกษาการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน (Land-Use) ลักษณะพืชพรรณ (Vegetation Type) ความสูง (Elevation) ความลาดชัน (Slope) ทิศด้านลาด (Aspect) ธรณีวิทยา (Geology) และดิน (soil) ของพื้นที่ลุ่มน้ำที่ศึกษา ข้อมูลเหล่านี้จะจัดอยู่ในรูปของแผนที่ซึ่งจัดว่าเป็นระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์หรือ GIS อันหนึ่ง ดังนั้น GIS จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับแผนที่นั่นเอง  และก่อนที่จะใช้ GIS กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำ Map Processing กล่าวคือแผนที่นั้นเอง เวลาที่มองบนกระดาษก็เห็นเป็นเส้นเป็นแนว เป็นตัวอักษรแสดงชื่อสถานที่และเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงลักษณะต่างๆ ของภูมิศาสตร์ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่าข้อมูลบนแผนที่นั้นคือ Location Index อย่างเช่น ลองจิจูด และละติจูด นั่นเอง ดังนั้นการทำ Map Processing ก็คือการเปลี่ยนระบบพิกัดแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งนั้นเอง รวมทั้งการย่อขยายหรือเปลี่ยนมาตราส่วนของแผนที่ด้วย ต่อมาภายหลัง ค.ศ. 1960 จึงได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการ ทำ GIS ในเรื่องเกี่ยวกับแผนที่นั้นมี 2 อย่าง คือ
1) การสร้างแผนที่
2) การเรียกค้นหาข้อมูลที่อยู่ในแผนที่
การสร้างแผนที่นั้นทำได้ง่ายเพราะมีวิธีการต่างๆ มากมายแต่การเรียกค้นแผนที่ไม่ใช่ง่าย และส่วนใหญ่ยังต้องทำด้วยมือ แต่เรื่องที่ยุ่งยากที่สุดสำหรับงานแผนที่ และ GIS ก็คือ ปริมาณข้อมูลที่มีมากเกินไป เพราะข้อมูลแสดงตำแหน่งในแผนที่ซึ่งเรียกว่า Spatial Data ที่ใช้นั้นมีมาก ตัวอย่างเช่น สองปีที่ผ่านมามีคนคิดทำโครงการเสนอรัฐบาลสหรัฐว่า จะจัดทำระบบ GIS เก็บข้อมูลภูมิศาสตร์ของโลก โดยตีเป็นตารางห่างกันสิบเมตร และเก็บรายละเอียดตรงจุดตัดของเส้นบนตารางไว้ในคอมพิวเตอร์พบว่าต้องใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลขนาดเท่ากับเนื้อที่เท่ากรุงเทพฯ ทั้งเมือง จึงจะเก็บข้อมูลได้หมด จากที่กล่าวมาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น